หลักการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

การกินอาหารในแต่ละวัน ก็เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แต่คนส่วนมากมักจะคำนึงถึงเรื่องความอร่อยมากกว่าพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ

การกินอาหารในแต่ละวัน ก็เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แต่คนส่วนมากมักจะคำนึงถึงเรื่องความอร่อยมากกว่าพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ จึงส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ตามมามากมาย และจากสถิติของโลกมีคนเสียชีวิตด้วยโรค NCDs มากถึงร้อยละ 62 ส่วนในประเทศไทยก็มากถึง 75% กล่าวคือในทุกๆ ชั่วโมงจะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 37 คน ซึ่งโรคที่ติดอันดับของผู้เสียชีวิตมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

การกินอาหาร

จะเห็นได้ว่าโรคทั้ง 5 โรคนี้ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดทั้งหมด เราจึงควรเลือกกินอาหารที่ช่วยบำรุงหลอดเลือด เพราะหลอดเลือดเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หากเกิดความเสียหายขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมานั่นเอง เช่น หลอดเลือดตีบบริเวณที่เลี้ยงไต ก็ส่งผลให้ไตเสื่อม, หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบตัน ก็ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ก็ทำให้หัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรค NCDs

• พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป การบริโภคอาหารมัน อาหารทอด และของหวานมากเกินไป
• พฤติกรรมที่ขาดการเคลื่อนไหว ใช้เวลาอยู่กับโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตมากเกินไป และขาดการออกกำลังกาย
• ภาวะเครียดทั้งจากเรื่องเงิน การทำงาน ปัญหาครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่มีแต่ความตึงเครียด รวมทั้งมลภาวะต่างๆ

สาเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้นเป็นพฤติกรรมที่ทุกคนสามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่สาเหตุที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้คือ เพศ กรรมพันธุ์ และอายุที่มากขึ้น

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

@ อาหารกับระดับน้ำตาลในเลือด

การคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้มากมาย เพราะการที่รักษาระดับน้ำตาลในเกณฑ์ปกติ จะช่วยป้องกันการอักเสบภายในร่างกาย ช่วยรักษาความยืดหยุ่นของหลอดเลือดให้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นและช่วยควบคุมน้ำหนักได้ ทั้งนี้ หากเรารับประทานอาหารที่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายก็จะหลั่งอินซูลินออกมาเพื่อนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงไปมากจนกระทั่งรู้สึกหิวขึ้นมาอีกครั้งก่อนจะถึงมื้ออาหารถัดไป ทำให้เกิดพฤติกรรมกินจุบจิบเพราะหิวบ่อย ต้องหาอะไรกินตลอดเวลา ซึ่งการกินลักษณะนี้จะส่งผลให้มีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน

การเลือกชนิดของคาร์โบไฮเดรต นอกจากจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย จึงควรเลือกกินอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำหรือปานกลาง เช่น ข้าวไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งมีใยอาหารเป็นองค์ประกอบ ทำให้เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดช้ากว่าคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมได้ง่ายหรือมีดัชนีน้ำตาลสูง ส่งผลดีต่อร่างกายในการรักษาระดับน้ำตาลไว้ได้นาน ทำให้ไม่หิวเร็ว ไม่ต้องหาอะไรกินระหว่างมื้อ ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยรักษาระดับน้ำหนักไว้ได้

อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง สังเกตง่ายๆ โดยใช้ความรู้สึกเป็นเกณฑ์ อาหารประเภทใดที่เคี้ยวง่าย และให้ความรู้สึกหวานเร็ว แปลว่ามีค่าดัชนีน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว แตงโม น้ำตาลทุกชนิด เป็นต้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว และกินข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ (เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ) และหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น แตงโม ลำไย มะขาม ทุเรียน เป็นต้น

เรื่องนี้ถูกเขียนใน อาหาร และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร